30128-8501 การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

 17ม.ค. 2565 งานที่ 3

1.จอทำหน้าที่อย่างไร 

จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวจะแบ่งได้เป็น ชนิด  คือ
1. จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  
2.จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)
 

2.จงอธิบายเทคโนโลยีการฉายภาพต่อไปนี้

2.1 CRT

เครื่องฉายภาพชนิดหลอดรังสีแคโทด (CRT projector) ใช้หลอดรังสีแคโทด จะมีสามหลอดสี คือ สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง โดยหลอดสีทั้งสามสามารถเลื่อนเพื่อปรับองศาของภาพให้ถูกต้องได้ เครื่องฉายภาพชนิดนี้เป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก แต่ดูไม่สวยงามเพราะเครื่องฉายมีขนาดใหญ่ แต่มีข้อดีคือสามารถฉายภาพให้เป็นภาพขนาดใหญ่ในราคาที่ถูกกว่า

 2.2 LCD 

เครื่องฉายภาพชนิดฉายแสงผ่านแผ่นแอลซีดี (LCD projector) เป็นเครื่องฉายภาพที่มีระบบกลไกข้างในที่ไม่ซับซ้อน ทำให้เป็นเครื่องฉายภาพที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง เพราะราคาถูก เครื่องฉายภาพชนิดนี้มีปัญหาด้านการมองเรียกว่า screen door effect หรือ pixilation effect ซึ่งเราจะมองเห็นภาพเป็นจุด เป็นเหลี่ยมขนาดเล็ก และหลอดไฟมีราคาสูง

2.3 TFT

TFT แสดงการใช้ "ย้อนกลับ" - วิธีที่แหล่งกำเนิดแสงจินตนาการไม่เหมือนกับ TN LCD จากบนลงล่าง แต่จากด้านล่างขึ้น วิธีนี้ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของท่อไฟคริสตัลเหลวชนิดพิเศษแหล่งกำเนิดแสงเมื่อสัมผัสกับแสงผ่าน polarizer ขั้วไฟฟ้าภายใต้การดูดเข้าไปในขั้วลบ FET และขั้วไฟฟ้าร่วมกันอิเล็คตรอน FET จะดำเนินการผลการดำเนินงานของโมเลกุลผลึกเหลวจะเปลี่ยนสามารถแสงและแรเงาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแสดงเวลาตอบสนองอย่างมากเพิ่มขึ้นประมาณ 80ms . เนื่องจากความคมชัดสูงกว่า TN-LCD และอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่มีสีสันมากขึ้นจึงทำให้ TFT เรียกว่า "true color"

2.4 PDP

ตอบ จอภาพพลาสมา คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนัง (rib) กั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้นทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้


3.การวัดประสิทธิภาพ

3.1 ความสว่าง

ตอบ วัดในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร

3.2 ขนาดจอภาพ

ตอบ วัดความยาวตามแนวทแยง สำหรับหลอดภาพ บริเวณที่เห็นภาพมักจะเล็กกว่าขนาดของหลอดภาพอยู่หนึ่งนิ้ว

3.3 อัตราส่วนลักษณะ

ตอบ คืออัตราส่วนของพิกเซลในแนวนอนต่อแนวตั้ง อัตราส่วนปกติคือ 4:3 เช่นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 768 พิกเซล ถ้าเป็นจอภาพไวด์สกรีน จะมีอัตราส่วนเป็น 16:9 ดังนั้นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 576 พิกเซล

3.4 ความละเอียดจอภาพ

ตอบ คือจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ (ไม่ได้หมายถึงพิกเซลที่กำลังแสดงผลภาพอยู่ในปัจจุบัน) ความละเอียดที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยระดับพิกเซล

3.5 ระยะระหว่างพิกเซล

ตอบ คือระยะระหว่างพิกเซลสีเดียวกันในหน่วยมิลลิเมตร หากระดับพิกเซลน้อยลง ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น

3.6 อัตรารีเฟรช

ตอบ จำนวนครั้งในหนึ่งวินาทีที่ภาพนั้นถูกฉายลงบนหน้าจอ อัตรารีเฟรชที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยเวลาตอบสนอง 

3.7 เวลาตอบสนอง

ตอบ เวลาที่ใช้ไปขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว และกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง วัดในหน่วยมิลลิวินาที ค่าที่น้อยลงหมายความว่าจอสามารถเปลี่ยนภาพได้เร็วขึ้น และหลงเหลือภาพก่อนหน้าน้อยกว่า

3.8 อัตราส่วนความแตกต่าง

ตอบ อัตราส่วนความส่องสว่างของสีที่สว่างที่สุด (สีขาว) ต่อสีที่มืดที่สุด (สีดำ) ที่จอภาพนั้นสามารถสร้างได้

3.9 ค่าการใช้พลังงาน

ตอบ วัดในหน่วยวัตต์

3.10 มุมในการมอง

ตอบ คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

SPI

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์