เรื่องระบบบู๊ตของคอมพิวเตอร์ และการสร้าง Usd ไดร์ ติดตั้งโปรแกรม os สำหรับบู๊ตต่างๆ
นางสาวภิภาวดี ธรรมสอน เลขที่1 กลุ่ม3
ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ระบบปฏิบัติการคือ ซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าจัดการและควบคุมโปรแกรมประยุกต์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมไปถึงการติดต่อประสานงานกับอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ไบออส (BIOS – Basic Input Output System) รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการ
ไบออสเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวรถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม มีหน้าที่หลักคือ ควบคุมอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่อง เช่น ซีพียู หน่วยความจำ ROM และRAM เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ พอร์ตแบบต่างๆเป็นต้น เช่น พอร์ตอนุกรม พอร์ต USB ฯลฯ
การเริ่มต้นทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up)
1.พาวเวอร์ซับพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพรยูเริ่มทำงาน พาวเวอร์ซับพลาย (power supply) ทำหน้าที่จ่ายพล่งงานไปให้อุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อปุ่มกดเปิด (power on) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย เรียกว่า สัญญาณ Power Good
2.ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3.เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ กระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด RAM ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพวงอื่นๆเช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์
4.ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเทียบกับข้อมูลที่อยู่ซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor)
5.ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์หรือซีดีรอม
6.โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า เคอร์เนล (kernel) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7.ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผล
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
1.โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที
2.วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นบู๊ตเครื่องโดยการทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่ที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง (restart) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องการบู๊ตเครื่องกันใหม่
การจัดการกับไฟล์ (File Management)
ความหมายของไฟล์ (File)
ไฟล์ เป็นหน่วยในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเก็บอยู่ในสื่อเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆเช่น ฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หรือซีดีรอม เป็นต้น
ลำดับโครงสร้างไฟล์ (Hierarchical File System)
เมื่อต้องการเก็บข้อมูลก็จะมีการจัดเก็บไฟล์ที่แยกโครงสร้างออกเป็นส่วนๆเหมือนกิ่งกานสาขาต้นไม้แต่ละกิ่งเรียกว่า โฟลเดอร์ (Folder) ซึ่งเป็นที่รวมไฟล์ข้อมูลเรื่องเดียวกันเข้าไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถเรียกใช้ได้โดยง่ายแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยดังนี้คือ
1.ไดเร็คทอรี (Directory) เป็นโฟล์เดอร์สำหรับจัดหมวดหมู่ไฟล์ขั้นสูงสุดในระบบ บางครั้งอาจเรียกว่า root directory ซึ่งบางระบบปฏิบัติการจะรวมทุกทุกไดรว์ไว้ในไดเร็คทอรีเดียวกัน
2.ซับ ไดเร็คทอรี (sub Directory) เป็นโฟล์เดอร์ย่อยที่ถูกแบ่งและจัดเก็บไว้ออกมาอีกชั้นหนึ่ง โดยที่เราสามารถเอาข้อมูลและไฟล์จัดลงในซับไดเร็คทอรีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างซับไดเร็คทอรีย่อยๆลงไปอีกได้ไม่จำกัด
การจักการหน่วยความจำ (Memory Management)
ในการประมวลผลกับข้อมูลที่ปริมาณมากหรือทำงานหลายๆโปรแกรมพร้อมๆกัน หน่วยความจำหลักประเภท RAM อาจมีเนื้อที่ไม่สำหรับเก็บข้อมูลในขณะประมวลผลได้ ระบบปฏิบัติการจะแก้ไขปัญหานี้โดยวิธีที่เรียกว่า หน่วยจำเสมือน (VIM – virtual memory) โดยใช้เนื้อที่ของหน่าวเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ (เรียกว่า สว็อปไฟล์ –swap file) และแบ่งเนื้อที่เหล่านั้นออกเป็นส่วนๆเรียกว่า เพจ (page) ซึ่งมากรกำหนดขนาดไว้แน่นอนจากนั้นระบบปฏิบัติการจะเลือกโหลดเอาเฉพาะข้อมูลในเพจที่กำลังจะใช้นั้นเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าจะเต็ม หลังจากนั้นหากยังมีความการใช้เนื้อที่ของ RAM เพิ่มอีก ก็จะจัดการถ่ายเทข้อมูลบางเพจที่ยังไม่ได้ใช้ในขณะนั้นกลับออกไปไว้ในหน่วยความจำสำรองเพื่อให้แรมมีเนื้อที่เหลือว่างสำหรับนำข้อมูลเพจใหม่ที่จะต้องใช้ในขณะนั้นเข้ามาแทนและสามารถทำงานต่อไปได้ วิธีการนี้ช่วยให้สามารถจดสรรหน่วยความจำที่มีจำกัดมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล (I/O Device Management)
ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น อุปกรณ์นำเข้ามากกว่าหนึ่งตัวสามารถส่งข้อมูลเข่ไปยังระบบปฏิบัติการได้พร้อมๆกัน และในขณะนั้นระบบปฏิบัติการก็อาจต้องการส่งข้อมูลจากหลายๆโปรแกรมไปยังอูปกรณ์แสดงผลด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากอัตราการรับส่งข้อมูลของแต่ละอุปกรณ์มีความเร็วต่ำกว่าซีพียูมาก ระบบปฏิบัติการจึงได้เตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่ง จะเป็นในหน่วยความจำหรือ ฮาร์ดดิสก์ก็ตาม เรียกว่า บัฟเฟอร์ (buffer) เพื่อเป็นที่พักรอของข้อมูลที่อ่านเข้ามาเตรียมส่งออกไปยังอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ
การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU Management)
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำงานหลายๆงานพร้อมกันหรือที่เรียกว่า multi-tasking นั้น ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้อมีการแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลต่างๆเหล่านั้นด้วย เนื่องจากซีพียูสามารถทำงานได้เพียงทีละ หนึ่งคำสั่งเท่านั้น โดยจะสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมของแต่ละงาน ผู้จึงมองเห็นเสมือนว่าหลายๆโปรแกรมทำงานได้ในเวลาเดียวกัน
นอกจากนั้นในการทำงานกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้การประมวลผลที่เร็วมากยิ่งขึ้น จะมีการใช้ซีพียูมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกันหรือเรียกว่า multi-processing ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน
วิธีติดตั้ง Windows 10 บน Mac
หากต้องการติดตั้ง Windows ให้ใช้ผู้ช่วย Boot Camp ซึ่งมาพร้อมกับ Mac ของคุณ
1. ตรวจสอบการตั้งค่าการเริ่มต้นระบบอย่างปลอดภัยของคุณ
ดูวิธีตรวจสอบการตั้งค่าการเริ่มต้นระบบอย่างปลอดภัย ค่าเริ่มต้นของการตั้งค่าการเริ่มต้นระบบอย่างปลอดภัยคือ "ความปลอดภัยแบบเต็ม" หากคุณเปลี่ยนเป็น "ไม่มีความปลอดภัย" ให้เปลี่ยนกลับเป็น "ความปลอดภัยแบบเต็ม" ก่อนติดตั้ง Windows หลังจากติดตั้ง Windows คุณจะใช้การตั้งค่าการเริ่มต้นระบบอย่างปลอดภัยใดก็ได้โดยไม่ส่งผลต่อความสามารถในการเริ่มต้นระบบจาก Windows
2. ใช้ผู้ช่วย Boot Camp เพื่อสร้างพาร์ติชั่น Windows
เปิดผู้ช่วย Boot Camp ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ยูทิลิตี้ของโฟลเดอร์แอพพลิเคชั่น ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอ
- หากระบบขอให้คุณใส่ไดรฟ์ USB ให้เสียบแฟลชไดรฟ์ USB เข้ากับ Mac ของคุณ ผู้ช่วย Boot Camp จะใช้แฟลชไดรฟ์ USB ในการสร้างไดรฟ์ USB ที่สามารถบูตได้สำหรับการติดตั้ง Windows
- เมื่อผู้ช่วย Boot Camp ขอให้คุณตั้งค่าขนาดของพาร์ติชั่น Windows ให้นึกถึงความต้องการของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขั้นต่ำในส่วนก่อนหน้านี้ แล้วตั้งค่าขนาดของพาร์ติชั่นให้ตรงกับความต้องการของคุณ เพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ในภายหลัง
3. ฟอร์แมตพาร์ติชั่น Windows (BOOTCAMP)
เมื่อผู้ช่วย Boot Camp ทำงานเสร็จสิ้น Mac ของคุณจะรีสตาร์ทไปยัง Windows Installer หากตัวติดตั้งถามว่าจะติดตั้ง Windows ไว้ที่ใด ให้เลือกพาร์ติชั่น BOOTCAMP แล้วคลิกฟอร์แมต โดยส่วนใหญ่ ตัวติดตั้งจะเลือกและฟอร์แมตพาร์ติชั่น BOOTCAMP โดยอัตโนมัติ
4. ติดตั้ง Windows
ถอดอุปกรณ์ภายนอกที่ไม่จำเป็นระหว่างการติดตั้งออก จากนั้นให้คลิกถัดไป แล้วดำเนินการตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อเริ่มติดตั้ง Windows
5. ใช้ตัวติดตั้ง Boot Camp ใน Windows
หลังจากการติดตั้ง Windows เสร็จสมบูรณ์ Mac ของคุณจะเริ่มทำงานใน Windows และเปิดหน้าต่าง "ยินดีต้อนรับสู่ตัวติดตั้ง Boot Camp" ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อติดตั้ง Boot Camp และซอฟต์แวร์สนับสนุน Windows (ไดรเวอร์) คุณจะถูกขอให้รีสตาร์ทเมื่อเสร็จสิ้น
- หากตัวติดตั้ง Boot Camp ไม่เปิดขึ้น ให้เปิดตัวติดตั้ง Boot Camp ด้วยตนเอง และใช้ตัวติดตั้งเพื่อทำการติดตั้งให้เสร็จสมบูรณ์
- หากคุณมีจอแสดงผลภายนอกที่เชื่อมต่อกับพอร์ต Thunderbolt 3 บน Mac จอแสดงผลจะว่างเปล่า (เป็นสีดำ เทา หรือฟ้า) เป็นเวลาไม่เกิน 2 นาทีระหว่างการติดตั้ง
วิธีการสลับระหว่าง Windows และ macOS
- iMac รุ่นที่เปิดตัวในปี 2015 หรือใหม่กว่า
- iMac Pro (ทุกรุ่น)
- Mac Pro เปิดตัวปลายปี 2013 หรือใหม่กว่า
1. หากคุณใช้ iMac (Retina 5K 27 นิ้ว ปลายปี 2014) หรือ iMac (27 นิ้ว ปลายปี 2013) หรือ iMac (27 นิ้ว ปลายปี 2012) ที่มีฮาร์ดไดรฟ์ 3TB และ macOS Mojave หรือใหม่กว่า ให้ดูข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนที่คุณอาจเห็นในระหว่างการติดตั้ง
2. ตัวอย่างเช่น หาก Mac ของคุณมีหน่วยความจำ 128GB ดิสก์เริ่มต้นระบบจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอย่างน้อย 128GB สำหรับ Windows หากต้องการดูว่า Mac ของคุณมีหน่วยความจำเท่าใด ให้เลือกเมนู Apple > เกี่ยวกับ Mac เครื่องนี้ หากต้องการดูว่ามีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเท่าใด ให้คลิกแท็บพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในหน้าต่างเดียวกัน
3. Mac รุ่นต่อไปนี้มีฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 128 GB ให้เป็นทางเลือก Apple ขอแนะนำให้ใช้ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 256 GB หรือใหญ่กว่าเพื่อที่คุณจะสามารถสร้างพาร์ติชั่น Boot Camp อย่างน้อย 128 GB ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น