4. ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

 4. ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
นางสาวภิภาวดี ธรรมสอน เลขที่ 1 กลุ่ม 3

            

                คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถส่งเสริมการทำงานด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้น โดยจะทำงานอย่างเป็นระบบผ่านส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
                การทำงานของคอมพิวเตอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยการทำงานหลักๆ 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับข้อมูลหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และหน่วยแสดงผล โดยจะเริ่มจากการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านหน่วยรับข้อมูล แบ่งข้อมูลออกเป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อจัดเก็บในหน่วยความจำ แล้วนำแฟ้มข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางจะมีการทำงานร่วมกับหน่วยความจำตลอดเวลา จากนั้นคอมพิวเตอร์จึงส่งสารสนเทศที่ได้ไปยังหน่วยแสดงผลในรูปแบบที่ผู้ใช้กำหนดไว้

                หน่วยต่างๆ ที่ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์จะมีหน้าที่ต่างๆ กัน ดังนี้

          1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งจากผู้ใช้ โดยจะแปลงข้อมูลที่ได้รับในรูปแบบต่างๆ ให้เป็นข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งไปยังหน่วยความจำ เพื่อนำไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางต่อไป

           2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ซีพียู (CPU) จัดเป็นมันสมองของระบบสารสนเทศ เนื่องจากทำหน้าที่ในการประมวลผลคำสั่งและควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
           2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน โดยจะดูแลเวลาในการประมวลผลตามคำสั่งที่ได้รับ ให้มีการประมวลผลเป็นจังหวะตามสัญญาณนาฬิกา 
           2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบค่าของข้อมูลทางตรรกศาสตร์ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น
           3. หน่วยความจำ (Memory Unit) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง โดยหน่วยความ จำหลักจะต้องทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกลาง เมื่อผ่านการประมวลผลข้อมูลและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ข้อมูลที่เก็บไว้ทั้งก่อนและหลังขณะที่ทำงานจะหายไป ข้อมูลดังกล่าวจึงไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกในอนาคต จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยความจำสำรอง เพื่อเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้
               3.1 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักนี้ จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยประมวลผลกลาง โดยจะเรียกใช้หรือเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
                 หน่วยความจำแรม (RAM : Random Access Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ในระหว่างที่มีการประมวลผลข้อมูล โดยข้อมูลและซอฟต์แวร์นี้จะถูกลบหายไปทันทีเมื่อปิดคอมพิวเตอร์
                 หน่วยความจำรอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลคำสั่งเริ่มต้นของระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลในหน่วยความจำรอมจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ด้วยวิธีปกติ
                หน่วยความจำซีมอส (CMOS Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของฮาร์ดดิสก์ โดยจะใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลจึงไม่สูญหาย และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์นั้น

              3.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อให้สามารถนาข้อมูล ชุดคำสั่ง หรือซอฟต์แวร์นั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ในอนาคตได้ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำสำรองมีทั้งที่เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลและสารสนเทศต่างๆ มักมีขนาดใหญ่กว่าข้อมูลที่บันทึกในหน่วยความจำหลัก

                4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารและแสดงผลต่อผู้ใช้ ทั้งในขณะที่ทำการประมวลผลและหลังจากการประมวลผลเสร็จแล้ว ซึ่งจะรับสารสนเทศที่ได้จากหน่วยประมวลผลกลางมาแปลงให้เป็นข้อมูลหรือสารสนเทศในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ โดยทั่วไปจะใช้จอภาพ (Monitor) เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก


ลงชื่อเข้าใช้|กิจกรรมล่าสุดของไซต์|รายงานการละเมิด|พิมพ์หน้าเว็บ|ขับเคลื่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

SPI

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์